วันศุกร์ที่ 25 ธันวาคม พ.ศ. 2552

ใบงานที่ 8

ใบงานที่ 8 จากการศึกษาโปรแกรม SPSS1. สถิติ หมายถึง ตัวข้อมูลหรือจำนวนต่างๆที่ได้มาจากข้อมูล และหมายถึง วิธีการทางวิทยาศาสตร์ ในการรวบรวมจัดระบบ สรุปนำเสนอ และวิเคราะห์ข้อมูลรวมถึงการลงสรุปอย่างเที่ยงตรง และตัดสินใจอย่างมีเหตุผล
2. ค่าเฉลี่ย คือ ผลรวมของคะแนนทั้งหมดหารด้วยจำนวนคะแนน
มัธยฐาน คือ คะแนนตรงกลางที่แบ่งคะแนนอื่นๆออกเป็น 2 ฝ่ายเท่าๆกัน
ฐานนิยม คือ ค่าที่ปรากฏบ่อยที่สุด หรือคะแนนที่มีความถี่มากที่สุด
ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน คือรากที่สองของค่าเฉลี่ยของกำลังสองของค่าเบี่ยงเบน
ค่าเฉลี่ย มัธยฐาน ฐานนิยม เป็นมาตราวัดแนวโน้มเข้าสู่ส่วนกลาง เป็นค่าสถิติที่ใช้สำหรับเป็นตัวแทนของข้อมูลในกลุ่มหรือในเซ็ตนั้น
ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เป็นมาตราวัดการกระจาย เป็นสถิติที่ช่วยให้ทราบถึงระดับของการกระจายหรือการแปรผันของคะแนนในกลุ่มนั้น
3. ประชากร และกลุ่มตัวอย่าง แตกต่างกัน คือ
ประชากร หมายถึง กลุ่มของคน สัตว์ สิ่งของ หรือค่าที่วัดมา ซึ่งประกอบด้วยสมาชิกทั้งหมดในกลุ่มนั้น
เช่น ประชากรนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ของกรุงเทพมหานคร ประกอบด้วยนักเรียนทุกคนที่กำลังเรียนในชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ในกรุงเทพมหานคร เป็นต้น
กลุ่มตัวอย่าง หมายถึง กลุ่มสมาชิกส่วนหนึ่งของประชากร ที่ผู้วิจัยเลือกมาเป็นตัวแทน
4. มาตรานามบัญญัติ เป็นระดับการวัดที่ต่ำสุด เป็นการกำหนดตัวเลขแทนชื่อคน แทน คุณลักษณะต่างๆ แทนเหตุการณ์ หรือสิ่งต่างๆ เช่น เบอร์นักกีฬา เลขทะเบียนรถ การกำหนดให้ 0 แทนเพศชาย 1 แทนเพศหญิง
มาตราเรียงอันดับ เป็นการกำหนดตัวเลข หรือสัญลักษณ์ เพื่อชี้ถึงอันดับ
มาตราอันตรภาค มีศูนย์สมมุติ และมีหน่วยของการวัดที่เท่ากัน ได้แก่ การวัดอุณหภูมิ คะแนนการสอบ
มาตราอัตราส่วน มีศูนย์แท้ มีหน่วยของการวัดเท่ากัน เช่น การวัดความยาว ชั่งน้ำหนัก
5. ตัวแปร คือ คุณลักษณะหรือสภาวการณ์ต่างๆซึ่งแบ่งออกเป็นพวก หรือเป็นระดับ หรือมีค่าได้หลายค่า
ตัวแปรต้น เป็นตัวแปรที่ไม่ขึ้นกับตัวแปรตาม จะเป็นสาเหตุมีผลหรืออิทธิพลต่อตัวแปรตาม
ตัวแปรตาม เป็นตัวแปรที่สันนิษฐานว่าจะขึ้นอยู่กับ หรือแปรผันไปตามตัวแปรต้น
6. สมมุติฐาน Hypothesis คือ คำตอบสรุปของผลการวิจัยที่คาดการณ์หรือพยากรณ์ไว้ล่วงหน้า เป็นข้อสันนิษฐานที่อาจเป็นความจริงมีเหตุผลเชื่อถือได้ว่าเป็นไปได้จริง แต่อาจเป็นจริงหรือไม่จริงก็ได้
สมมุติฐานทางการวิจัยมี 2 ประเภท คือ สมมุติฐานหลัก และสมมุติฐานเลือก หรือเรียกว่าสมมุติฐานตรงข้าม
7. t-test กับ F- test ต่างกัน คือ
t-test ใช้ทดสอบนัยสำคัญของความแตกต่างระหว่างค่าเฉลี่ยของสองกลุ่ม
F- test ใช้ทดสอบนัยสำคัญของความแตกต่างระหว่างความแปรปรวนของสองกลุ่ม

Background.MyEm0.Com

0 ความคิดเห็น:

somporn | Template by: Abdul Munir
Website: 99computercity